นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.97 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.89 บาทต่อดอลลาร์โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลง (แกว่งตัวในช่วง 36.79-36.97 บาทต่อดอลลาร์) ตามการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่ได้แรงหนุนหลักมาจากการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ซึ่งล่าสุดได้อ่อนค่าแตะระดับ 154.8 เยนต่อดอลลาร์
นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว หลังราคาทองคำยังขาดปัจจัยหนุนในช่วงนี้ ตามความกังวลสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่คลี่คลายลงบ้าง ส่วนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ก็ทำให้ราคาทองคำ (Spot Gold) ยังคงแกว่งตัวแถวโซนแนวรับ 2,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวโน้มของค่าเงินบาท
การพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์อาจทำให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เงินบาทเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงโฟลว์ธุรกรรมซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งทองคำและน้ำมันดิบ หลังราคาทองคำ และน้ำมันดิบ ต่างก็ทยอยปรับตัวลดลงเข้าสู่โซนแนวรับในระยะสั้น อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า การอ่อนค่าของเงินบาทอาจค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วงโซน 37 บาทต่อดอลลาร์ (หากอ่อนค่าทะลุโซนดังกล่าว ก็อาจติดแถวโซน 37.10 บาทต่อดอลลาร์ได้เช่นกัน) นอกจากนี้ เราคงมองว่า นักลงทุนต่างชาติก็อาจทยอยกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยในช่วงนี้เพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยลดทอนผลกระทบจากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผล ได้บ้าง
ผู้เล่นในตลาดควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุมธนาคารกลางสวีเดน (Riksbank) ในช่วงเวลาราว 14.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ที่แม้ว่าในอดีต ตลาดอาจไม่ได้ตามผลการประชุม Riksbank มากนัก แต่ในรอบนี้ หาก Riksbank ลดดอกเบี้ยตามคาด พร้อมส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง ก็อาจกดดันบรรดาสกุลเงินฝั่งยุโรป และยิ่งหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้
มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.85-37.10 บาท/ดอลลาร์
ขณะที่ ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดอยู่ที่ 36.93 อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.89 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก สวนทางการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปียังคงปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 4.5% หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
จับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันที่ 14 พ.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันที่ 15 พ.ค.
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยสุทธิ995 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิ 1,796 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ USD/THB 36.80- 37.10 *แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.80/ ขาย 37.10
EUR/THB 39.60- 40.00 * แนะนำ ซื้อ39.60/ ขาย 40.00
JPY/THB 0.2370- 0.2410 * แนะนำ ซื้อ0.2370/ ขาย 0.2410
GBP/THB 46.10- 46.40 AUD/THB 24.20- 24.50
กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์ ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากวานนี้ ตามดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น และเงินเยนที่อ่อนค่า ด้าน US Treasury yields อายุ 2 ปี ทรงตัว นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีคลัง เผยว่าพร้อมทำงานร่วมกับ ธปท. เพื่อที่จะให้นโยบายการคลัง และนโยบายการเงินมีความสอดคล้องมากขึ้น ค่าเงินเยนอ่อนค่าหลังนายมาซาโตะ คันดะ (Masato Kanda) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ดูแลค่าเงินของญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐยังไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงค่าเงิน หากตลาดอัตราแลกเปลี่ยนยังทำงานได้อย่างปกติ
คำพูดจาก เว็บพนันออน
<คำพูดจาก สล็อต777!– TradingView Widget END –>
กาแฟสด กับ กาแฟสำเร็จรูป แบบไหนมีคาเฟอีนมากกว่ากัน?
ประวัติ "เศรษฐพุฒิ" ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ คนที่ 24 ของธนาคารแห่งประเทศไทย
วิเคราะห์บอล! แชมเปี้ยนส์ ลีก เรอัล มาดริด พบ บาเยิร์น มิวนิค 8 พ.ค.67