เป็นที่น่าตกใจ เมื่อ "ญี่ปุ่น" เริ่มปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลงสู่ทะเล ท่ามกลางความกังวลและเสียงต่อต้านจากหลายฝ่าย ทั้งชาวประมง ทางการจีนและเกาหลีเหนือ รวมถึงประชาชนทั่วไปในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำให้เกิดการแบนอาหารทะเลจากญี่ปุ่น และงดการนำเข้าอาหารทะเลญี่ปุ่นในหลายประเทศเนื่องจากน้ำมีไอโซโทป ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยเทคโนโลยีการกรองน้ำของโรงไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 TEPCO ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิของญี่ปุ่น ได้เผยว่าเริ่มปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่แผนดังกล่าวทำให้เกิดความกังวล เนื่องจากน้ำมีไอโซโทป ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยเทคโนโลยีการกรองน้ำของโรงไฟฟ้า

ขณะที่สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ซึ่งเป็นหน่วยเฝ้าระวังนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ อนุมัติการปล่อยน้ำเสียดังกล่าว โดยระบุว่า ผลกระทบทางรังสีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมจะ “น้อยมาก”

(โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ, ภาพจาก AFP)

การปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัด โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ

เป็นการปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วลงมหาสมุทร เป็นสิ่งที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำอยู่เป็นประจำ แต่ด้วยความที่น้ำปนเปื้อนรังสีของญี่ปุ่น เกิดจากวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้พวกมันเป็นกากนิวเคลียร์ที่ผิดแผกจากปกติ ซึ่ง TEPCO ได้ใช้ระบบปั๊มและกรองน้ำขั้นสูงที่เรียกว่า เอแอลพีเอส (ALPS) เพื่อบำบัดน้ำเสียมีระดับกัมมันตรังสีต่ำถึงระดับมาตรฐานที่ยอมรับได้ น้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ (62 ชนิด) ถูกกรองออกไปแล้ว การบำบัดขั้นสูงนี้ ไม่สามารถขจัดสารอย่างทริเทียม (Tritium) และคาร์บอน-14 ออกไปได้หมด

(การศึกษาผลกระทบของเทปโกโดยการนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดมาเลี้ยงปลาและสัตว์ทะเล, ภาพจาก AFP)

เผยมาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO)

“ต้องไม่เกิน 10,000 เบ็กเคอเรล ต่อ ลิตร (Becquerels per litre; Bq/l) ” (เบ็กเคอเรล เป็นหน่วยวัดปริมาณกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวจากต้นกำเนิดรังสี โดยในน้ำจะวัดเป็นเบ็กเคอเรลต่อลิตร)

สารทริเทียม และคาร์บอน-14 นั้น เป็นสารกัมมันตรังสีในรูปแบบของไฮโดรเจนและคาร์บอนที่คัดแยกออกจากน้ำได้ยากมาก สารเหล่านี้มีอยู่ในธรรมชาติ น้ำ และในร่างกายมนุษย์ด้วย เพราะเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก ก่อนเข้ามาสู่วงจรของน้ำ และเข้าสู่ร่างกายมนุษย์

(สารทริเทียม H-3 ที่พบได้ในธรรมชาติและในร่างกายมนุษย์, BBC)

(ระบบกรอง ALPS- Treated Water Discharge, ของ IAEA)

การปล่อยน้ำเข้าทะเลของญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้น หรือเป็นเรื่องอันตรายเลย ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่พบได้ทั่วโลกของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทริเทียมถูกปล่อยเป็นสารเสียในรูปของของเหลวลงในสิ่งแวดล้อมเช่น แม่น้ำ และทะเล ในการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของแต่ละประเทศและภูมิภาค

ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

หลังจากมีการถกเถียงกันอย่างมาก ทำให้หลายหน่วยงานเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องต่อความมั่นใจต่อสถานการณ์การปล่อยน้ำสารกัมมันตรังสี ที่ผ่านการบำบัด จากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ

1. องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration: FDA)

ให้ความเห็นต่อข้อกังวลใจเกี่ยวกับทริเทรียมไว้ว่า

การบริโภคทริเทียม (Tritium) มีความเสี่ยงต่ำมาก ต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ และมีผลกระทบความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมากในด้านสุขภาพใด ๆ

ซึ่งจะลดลงอีก จากการเจือจางเมื่อปล่อยลงสู่มหาสมุทรณ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าตรวจพบสารกัมมันตรังสีจากเหตุการณ์ฟุกุชิมะ ปรากฏอยู่ในแหล่งอาหารของสหรัฐอเมริกาในระดับที่ไม่ปลอดภัย จนก่อให้เกิดความกังวลด้านสาธารณสุขและเชื่อว่าภารกิจนี้จะไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอาหารทะเลที่จับได้นอกชายฝั่งสหรัฐอเมริกา

2. Jim Smith

ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยพอร์ทสมัธ (Professor of Environmental Science in the School of the Environment, Geography and Geosciences at the University of Portsmouth) ซึ่งทำงานด้านการศึกษาวิจัยผลกระทบที่สิ่งปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีมีต่อสิ่งแวดล้อมมานานกว่า 30 ปี มีความเห็นว่า น้ำที่ฟุกุชิมะมีแผนจะปล่อย มีทริเทียม (Tritium) อยู่ที่ 1,500 เบ็กเคอเรลต่อลิตร ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้ว ถ้าน้ำไม่เต็มไปด้วยเกลือ น้ำบำบัดจากฟุกุชิมะก็สามารถดื่มกินได้

ซึ่งปริมาณกัมมันตภาพรังสีในตัวคนมีหน่วยวัดเป็นซีเวิร์ต หรือไมโครซีเวิร์ต โดยที่ปริมาณ 1,000 ไมโครซีเวิร์ต จะทำให้บุคคลนั้น ๆ มีโอกาส 1 ใน 25,000 ที่จะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรเพราะมะเร็ง

จิม สมิธ กล่าวว่า ปริมาณสูงสุดในน้ำที่จะปล่อยลงสู่ทะเลที่ฟุกุชิมะ จะอยู่ที่ 3.9 ไมโครซีเวิร์ตต่อปี ต่ำกว่าปริมาณที่มนุษย์แต่ละคนได้รับกัมมันตภาพรังสีจากธรรมชาติ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วแต่ละปีมีถึง 2,400 ไมโครซีเวิร์ต

น้ำที่จะปล่อยลงสู่ทะเลจากฟุกุชิมะ ไดอิจิ ถือว่าปลอดภัยและก่อปัญหาเชิงนิเวศวิทยาน้อยมาก

3. Brent Heuser, ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรม Illinois Institute of Technology ให้ความเห็นไว้ว่าแผนการของญี่ปุ่นที่จะระบายน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิที่พังเสียหาย

จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์

4. Rafael Mariano Grossi, ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA

ยินดีกับการประกาศของญี่ปุ่นและให้การสนับสนุนแผนการดังกล่าวของญี่ปุ่นโดยกล่าวในแถลงการณ์ว่า

วิธีการกำจัดน้ำที่ญี่ปุ่นเลือกนั้นเป็นไปได้ทั้งทางเทคนิค และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล

ความคิดเห็นจากหน่วยงานในประเทศไทย

1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) Thai FDA Press Release รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รองอธิบดีกรมประมง ผู้แทนสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ประชุมเพื่อกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นกรณีการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดฟุกุชิมะ ลงสู่ทะเล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2556 ถึงแม้ว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว จะมีปริมาณสารกัมมันตรังสีต่ำกว่าเกณฑ์กำกับดูแล (Regulatory Standards) สำหรับการปล่อยน้ำทิ้งของญี่ปุ่นและเกณฑ์แนะนำ (Guideline Level) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับน้ำดื่ม รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ของสหประชาชาติ ให้สามารถปล่อยน้ำปนเปื้อนที่ผ่านการบำบัดลงสู่ทะเลได้

เจ้าหน้าที่ด่านประมง ของกรมประมง และด่านอาหารและยา (อย.) ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ได้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เพื่อมิให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในอาหารเกินมาตรฐานที่กำหนด ถ้าหากพบจะสั่งเรียกคืน และระงับการนำเข้าทันที

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด ในจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 กองด่านอาหารและยา (อย.) ได้สุ่มตัวอย่างอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น กว่า 1,000 ตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อตรวจวัดปริมาณกัมมันตรังสีซึ่งไม่พบตัวอย่างอาหารที่มีปริมาณกัมมันตรังสี เกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ของกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย

ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ประเทศญี่ปุ่น ได้เก็บตัวอย่างอาหารทะเล และผลิตภัณฑ์ประมง จากเมืองฟุกุชิมะ ส่งตรวจวิเคราะห์ในปี 2565 จนถึงเดือนเมษายน 2566 จำนวน 4,375 ตัวอย่าง พบค่าการปนเปื้อนกัมมันตรังสี ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย

2. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (Office of Atoms for Peace) แนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องของไทย จากการระบายน้ำจากโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก คือ ก่อนการระบายน้ำในครั้งนี้ ปส. ร่วมกับการประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสถาบันอุดมศึกษาตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมทางทะเลของไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ น้ำทะเล ตะกอนดิน อาหารทะเลชนิดต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 จนถึงปัจจุบัน สำหรับจัดทำระบบฐานข้อมูลกัมมันตภาพรังสีในระบบนิเวศทางทะเลของไทย และของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาตาเดียว หอยนางรม และสาหร่าย ในปี พ.ศ.2564-2565 สำหรับเป็นข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงกัมมันตภาพรังสีในอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่นหลังการระบายน้ำ โดยผลการตรวจวัดพบว่ากัมมันตภาพรังสีอยู่ในระดับปกติที่สามารถพบได้ในสัตว์ทะเลทั่วไป

ตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในตัวอย่างอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นที่สุ่มจากด่านตรวจประมง จำนวน 5 ด่านโดยมีแผนการสุ่มเก็บตัวอย่างดังกล่าว ปัจจุบัน ปส. ได้ทำการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสี Cs-134 และ Cs-137 ในตัวอย่างอาหารทะเลนำเข้า จำนวน 9 ตัวอย่างพบว่ากัมมันตภาพรังสี Cs-134 และ Cs-137 อยู่ในระดับปกติที่สามารถพบได้ในสัตว์ทะเลทั่วไป

3. กรมประมง

กรมประมงคุมเข้ม ตรวจอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น สร้างความมั่นใจผู้บริโภค เพิ่มความเข้มงวด โดยการยกระดับการตรวจติดตาม เฝ้าระวังสุ่มตัวอย่างอาหารทะเลนำเข้ามุ่งเน้นการสุ่มตรวจอาหารทะเลที่นำเข้ามาจากเมืองที่มีความเสี่ยง และอยู่ใกล้เคียงพื้นที่ที่มีอุบัติเหตุนิวเคลียร์ เช่น โตเกียว ฟุกุชิมะ, ชิบะ, กุมมะ, โทจิงิ, อิบารากิ, มิยางิ, นีงะตะ, นากาโนะ, ไซตามะ เป็นต้น

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมงได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยมีมาตรการเฝ้าระวัง ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่นำเข้ามาในประเทศนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง

4. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย

ดร.สนธิ คชวัฒน์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย

น้ำบำบัดแล้ว เหลือทริเทียม และคาร์บอน-14 น้อยมาก

คาดว่าน้ำเสียที่ถูกบำบัดแล้วจะมีสารทริเทียม ประมาณ 190 เบ็กเคอเรลต่อลิตร (Becquerels per litre; Bq/l) ซึ่งมาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก ต้องไม่เกิน 10,000 เบ็กเคอเรลต่อลิตร (Becquerels per litre; Bq/l) และแม้ญี่ปุ่นจะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงบำบัดน้ำเสียจนสารกัมมันตภาพรังสีหลายชนิดเข้าใกล้ศูนย์ แต่การบำบัดขั้นสูงนี้ไม่สามารถกำจัดสารทริเทียม และคาร์บอน-14 ได้หมดแต่จะเหลือน้อยมาก

บทความข่าวแสดงความมั่นใจจากประเทศญี่ปุ่น

1. นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ร่วมรับประทานอาหารทะเลระหว่างมื้อกลางวัน ที่มาจากทะเลรอบนอกจังหวัดฟุกุชิมะ ในวันที 30 สิงหาคม 2566 นายคิชิดะ ได้รับประทานเมนูซาซิมิ ซึ่งประกอบด้วย ปลากะพง ปลาลิ้นหมา และปลาหมึกยักษ์ คู่กับข้าวที่เก็บเกี่ยวในจังหวัดฟุกุชิมะ มีเป้าหมายเพื่อขจัดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยน้ำปนเปื้อนต่อสุขภาพของประชาชน

ทางการญี่ปุ่นยืนยันว่า น้ำปนเปื้อนได้ผ่านระบบบำบัดของเหลวขั้นสูงที่สามารถขจัดนิวไคลด์กัมมันตรังสี (radionuclide) ส่วนใหญ่ได้ ยกเว้นทริเทียม (tritium) ก่อนที่จะถูกปล่อยออกมา

เชื่อว่าหากใครอ่านบทความนี้ ต้องเชื่อมั่นในอาหารทะเลจากญี่ปุ่น และกินแซลมอนอร่อยเหมือนเดิมแน่นอน

ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันแรก 11 ก.ย. 2566

ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน

 “อาหารทะเลจากญี่ปุ่น” หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปล่อยน้ำเสียลงทะเล

ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้

ประกาศรายชื่อวอลเลย์บอลหญิงไทย "นุศรา" นำทัพชุดลุยศึกคัดโอลิมปิก 2024 คำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง

By admin